WELCOME TO AROKAYA HOUSE http://arokayahouse.siam2web.com/

เกษตรกรรมธรรมชาติ 

 

(porduct) 2009513_14247.jpg

 

 

  

หนังสือ สวทช.

 

(porduct) 2009513_14193.jpg

 

 

ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากพืชในท้องตลาดประเทศไทย

ไชยวัฒน์ ไชยสุต,สาร์ทจีน ภีระจันทร์,ไมตรี สุทธจิตต์

 

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

บทนำ

 

                อนุมูลอิสระ(Free Radical) เป็นสารที่มีอะตอมหรือหมู่อะตอมหรือโมเลกุลที่มีอิเลคตรอนเดี่ยว(singlet หรือ unpaired electron) เป็นส่วนประกอบอยู่มาก จำนวนอิเลคตรอนไร้คู่นี้อาจมีหนึ่งตัวหรือหลายตัว ต่อหนึ่งอนุมูลก็ได้ ปกติอะตอมหรือโมเลกุลที่เสถียรจะมีจำนานอิเลคตรอนอยู่เป็นคู่ๆเสมอ หากอิเลคตรอนขาดหรือเกินกว่าเดิมเพียงหนึ่งตัว อะตอมหรือโมเลกุลจะว่องไวมาก ไม่อยู่นิ่ง หาทางจับหรือทำปฏิกิริยากับอะตอมของธาตุอื่นอยู่เสมอ สามเหตุเกิดจาก การเผาผลาญของร่างกาย หรือกระบวนการ เมแทบบอลิซึม ตามธรรมชาติ ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งเป็นโทษต่อเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย อนุมูลอิสระเกิดได้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย หรือทุกระบบของร่างกาย เช่นเกิดที่ ไมโทคอนเดรีย,microsome,peroxisome ดังนั้นจึงก่อให้เกิดโรคได้ในทุกระบบเช่นกัน เราสามารถพบได้บ่อยๆ เช่น ระบบเนี้อเยื่อใต้ผิวหนัง อนุมูลอิสระจะทำให้คอลลาเจนและอิลาสตินเกิดการรวมตัวกัน เสียความยืดหยุ่นมีสภาพแข็งกระด้าง การเกิดฝ้าและกระที่ผิวหนัง อาการข้อเสื่อมเนื่องจากอนุมูลอิสระเข้าไปทำลายไขข้อกระดูก เกิดการผุกร่อน

                แอนติออกซิแดนท์(Antioxidants) หรือตัวต้านออกซิเดชัน เป็นสารที่สามารถยับยั้งปฏิกิริยาการเกิดออกซิเดชัน ในสิ่งมีชีวิตนั้นจะมีระบบป้องกันการทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อจากอนุมูลอิสระอยู่แล้วซึ่งประกอบไปด้วยตัวต้านออกซิแดนท์มากมายหลายชนิดที่ทำหน้าที่แตกต่างกันไป บางตัวเป็นเอนไซม์ บางตัวเป็นสารประกอบ บางตัวละลายได้ในน้ำ บางตัวละลายได้ในไขมัน ตัวต้านออกซิเดชันเหล่านี้ทำหน้าที่ในการเป็นตัวป้องกันและกำจัดการก่อตัวของอนุมูลอิสระ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนที่ถูกทำลาย

                น้ำหมักชีวภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลที่ได้จาการหมักอินทรียวัตถุ(พืช ผัก ผลไม้ วัชพืช) โดยจุลินทรีย์ในสภาวะที่มีสารอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์นี้มีการนำมาใช้บริโภคเพื่อส่งเสริมสุขภาพอย่างแพร่หลาย โดยมีความเชื่อว่าสามารถใช้เพื่อฟื้นฟูสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพได้ ซึ่งได้มีการกล่าวอ้างถึงสรรพคุณในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเกิดออกซิเดชัน กำจัดการก่อตัวของอนุมูลอิสระ จากสาเหตุนี้เองการวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในน้ำหมักชีวภาพ โดยการศึกษาครั้งนี้ได้สุ่มตัวอย่างน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตโดยผู้ผลิตทั้งประเทศไทย จำนวน 28 ตัวอย่าง จาก 24 แหล่งผลิต ในเขต 8 จังหวัด มาทำการประเมินฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของน้ำหมักชีวภาพดังกล่าว โดยวิธี assay ABTS(2,2'-azinobis-(3-ethybenzothiazoline-6-sulfonic acid radical))free radical decolorization assay และทำการศึกษาเปรียบเทียบกับสารมาครฐาน Trolox(6-hydroxy-2,5,7,8-tetramathylchroman-2-carbocylic acid),Vitamin C,Vitamin E และ Quercetin โดยรายงานฤทธิ์ต้านออกซิเดชันเป็นค่า Vitamin C Equivalent Antioxidative Capacity(VCEAC),Vitamin E Equivalent Antioxidative Capacity(VEEAC),Trolox Equivalent Antioxidative Capacity(TEAC) และ Quercetin Equivalent Antioxidative Capacity (QEAC) ตามลำดับ

วัตถุประสงค์

    เพื่อศึกษาและประเมินฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากพืชในท้องตลาดประเทศไทย

วิธีการศึกษาวิจัย

                คัดเลือกตัวอย่างน้ำหมักชีวภาพจากแหล่งผลิตชุมชนอโศก เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ และที่วางจำหน่ายในท้องตลาดจำนวน 28 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ด้วยวิธี ABTS(2,2'-azinobis-(3-ethybenzothiazoline-6-sulfonic acid radical))free radical decolorization assay โดยดัดแปลงจากวิธีการของ Miller 1993

ผลการศึกษาวิจัย

                จากการศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพที่คัดเลือกจากแหล่งผลิตชุมชนอโศก เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ และที่วางจำหน่ายในท้องตลาดจำนวน 28 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้วยวิธี ABTS(2,2'-azinobis-(3-ethybenzothiazoline-6-sulfonic acid radical))free radical decolorization assay ซึ่งเป็นวิธีการประเมินฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในการขจัดอนุมูลอิสระ ABTS และคำนวนเป็นฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระที่เทียบเท่ากับฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระ ABTS ของสารมาตรฐาน Vitamin C ,Vitamin E ,Trolox และ Quercetin แล้วรายงานฤทธิ์ต้านออกซิเดชันเป็นค่า VCEAC,VEEAC,TEAC และQEAC ตามลำดับได้ผล ดังแสดงในตารางที่ 1 และรูปที่ 1,2

สรุปผลการทดลอง

                จากการประเมินฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของน้ำหมักชีวภาพจำนวน 28 ตัวอย่าง โดยสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตโดยผู้ผลิตทั่วประเทศไทยจาก 24 แหล่งผลิต ในเขต 8 จังหวัด พบว่าตัวอย่างน้ำหมักชีวภาพมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันที่แตกต่างกันไปในแต่ละผลิตภัณฑ์ ดังแสดงในตารางที่ 1 ซึ่งฤทธิ์ต้านออกซิเดชันจะรายงานเป็นค่า Vitamin C Equivalent Antioxidative Capacity(VCEAC),Vitamin E Equivalent Antioxidative Capacity(VEEAC),Trolox Equivalent Antioxidative Capacity(TEAC) และ Quercetin Equivalent Antioxidative Capacity (QEAC) ตามลำดับ ในหน่วย mg/100ml น้ำหมักชีวภาพ ค่าเหล่านี้เป็นค่าความสามารถในการต้านออกซิเดชันของน้ำหมักชีวภาพประมาณ 100 ml ที่เทียบกับความสามารถในการต้านออกซิเดชันของวิตามินซี เป็นมิลลิกรัม เช่นตัวอย่างน้ำหมักชีวภาพ s18 มีค่า VCEAC เท่ากับ 1947.76 mg/100ml น้ำหมักชีวภาพหมายความว่าฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระ ABTS ของวิตามินซี ปริมาณ 1947.75 มิลลิกรัม ซึ่งค่า VCEAC ที่สู่แสดงถึงฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระที่สูง ในทำนองเดียวกันสามารถคำนวนเป็นฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระของน้ำหมักชีวภาพที่เทียบเท่ากับฤทธิ์ขจัดอนุมูลอิสระของวิตามินอี Trolox และ Quercetin รายงานเป็นค่า VEEAC,TEAC และ QEAC ตามลำดับ

                จากผลการศึกษาวิจัยสามารถแบ่งผลิตภัณฑ์ตามฤทธิ์ต้านออกซิเดชันได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันน้อย ประกอบไปด้วยตัวอย่าง k5,s12,s5,s23,s13,k26,s24,s1,c8,s3,k16,s7,s4,c9 จำนวน 14 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมหักชีวภาพที่มีส่วนผสมของลูกยอเป็นหลัก และมีค่า Vitamin C ,Vitamin E ,Trolox และ Quercetin เท่ากับ 4.372-24.440ม3,715-73.741,9.914-41.055 และ 0.338-11.447 mg/100ml น้ำหมักชีวภาพ ตามลำดับ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันปานกลางประกอบด้วยตัวอย่างs11,s21,s6,c1,c7,k20,s9,s15,s10,s2,s8,s14 จำนวน 12 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพสูตรผสม มีส่วนผสมของพืชหลายชนิดด้วยกันเช่น กระชายดำ ลูกยอ มะขามป้อม ผลไม้ต่างๆ เป็นต้น และมีค่า Vitamin C ,Vitamin E ,Trolox และ Quercetin เท่ากับ 34.612-90.129,126.565-337.283,50.779-134.423และ19.674-53.239 mg/100ml น้ำหมักชีวภาพตามลำดับ กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูงประกอบด้วยตัวอย่าง S18 และ k9 จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพที่มีส่วนผสมของ มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก และสมอเทศ เป็นส่วนผสมหลัก และมีค่า Vitamin C ,Vitamin E ,Trolox และ Quercetin เท่ากับ 1042.275-1947.755,3406.255-6379.087,1762.741-3650.359 และ 535.216-990.656 mg/100ml sample ตามลำดับ

                จากผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบถึงฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพจากแหล่งต่างๆและที่มีจำหน่ายทั่วไป ซึ่งฤทธิ์ต้านออกซิเดชันที่แตกต่างกันนี้อาจเนื่องมาจากความแตกต่างของวัตถุดิบที่ใช้ กระบวนการผลิต และสภาพการเก็บรักษาที่แตกต่างกันออกไป ข้อมูลที่ได้นี้จะใช้เป็นฐานข้อมูลต่อไปสำหรับพัฒนากระบวนการผลิต การคัดเลือกพันธุ์พืชรวมไปถึงกระบวนการในการเก็บรักษา ให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณค่า มีประสิทธิผลในการบริโภคต่อไป

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 184,320 Today: 10 PageView/Month: 399

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...